HOME PR News HUAWEI มุ่งสร้าง “ชีวิตเอไอ ไร้รอยต่อ” ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม เชื่อมั่นเปิดประตูสู่โอกาสอีกมากมาย

HUAWEI มุ่งสร้าง “ชีวิตเอไอ ไร้รอยต่อ” ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม เชื่อมั่นเปิดประตูสู่โอกาสอีกมากมาย

หัวเว่ย คอนซูมเมอร์ บิสสิเนส กรุ๊ป ได้จัดงาน Huawei Analyst Summit หรืองานสัมมนานักวิเคราะห์สัมพันธ์ขึ้น ณ เมืองเซินเจิ้น สาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อพบปะและพูดคุยกับเหล่านักวิเคราะห์การลงทุนถึงเทรนด์ตลาด เทคโนโลยีนวัตกรรม รวมถึงการพัฒนาอีโคซิสเต็ม ในประเด็นต่างๆ ที่กำลังเป็นที่สนใจ ภายใต้หัวข้อ “Seamless AI Life” หรือ “ชีวิตเอไอ ไร้รอยต่อ” ซึ่งมุ่งเน้นถึงแนวทางการพัฒนาธุรกิจในอนาคต

“ยุคอินเทอร์เน็ทของสรรพสิ่ง (Internet of Everything) ได้ก่อให้เกิดตลาดใหม่ที่มีมูลค่านับล้านล้านดอลล่าร์ ซึ่งจะนำพาบริการ รวมถึงอุปกรณ์รูปแบบใหม่ๆ มาสู่ตลาด” นายเส้า หยาง ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายกลยุทธ์ของหัวเว่ย คอนซูมเมอร์ บิสสิเนส กรุ๊ป กล่าว “หัวเว่ย คอนซูมเมอร์ บิสสิเนส กรุ๊ป กำลังดำเนินธุรกิจตามวิสัยทัศน์เชิงกลยุทธ์ขององค์กร ที่ต้องการจะสร้าง Seamless AI Life ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม โดยเรามีเป้าหมายที่จะพลิกโฉมประสบการณ์ของลูกค้าผ่านการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ ความสามารถในการแบ่งปันข้อมูลและประสานการทำงานระหว่างอุปกรณ์ ไปจนถึงการบูรณาการคอนเทนต์และบริการของทุกอุปกรณ์ ในระบบอีโคซิสเต็มของหัวเว่ย ซึ่งสอดคล้องกับกลยุทธ์ 1+8+N”

หัวเว่ย ยึดมั่นในกลยุทธ์ “1+8+N” Seamless AI Life โดย “+” หมายถึง เครือข่ายการเชื่อมต่อในบริเวณกว้าง (WAN) และเทคโนโลยีการเชื่อมต่อระยะใกล้ที่เชื่อมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ที่ทำงานแยกกันโดยอิสระเข้าไว้ด้วยกัน พร้อมทั้งเพิ่มขีดความสามารถในการแชร์ข้อมูลและประสิทธิภาพระหว่างอุปกรณ์ เพื่อให้สามารถตอบโจทย์การใช้งานในสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม มอบประสบการณ์ชีวิตอัจฉริยะหรือสมาร์ทไลฟ์ ให้แก่ผู้บริโภคได้อย่างแท้จริง โดยหัวเว่ยยังคงเดินหน้าลงทุนในการพัฒนาเทคโนโลยีหลักอย่าง 5G, Huawei Share, ระบบปฏิบัติการ และ Huawei Assistant เพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันในระยะยาวให้กับองค์กรและแบรนด์ พร้อมนำเสนอนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ให้แก่อุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ Huawei Mobile Services ยังเปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถเชื่อมต่อและทำงานพร้อมกันบนสมาร์ทดีไวซ์หลายชิ้นได้พร้อมกัน ถือเป็นการปฎิวัติประสบการณ์การทำงาน การใช้ชีวิตในบ้าน และการท่องเที่ยวได้อย่างครบถ้วนทุกมิติ

ยกระดับประสบการณ์ชีวิตในทุกแง่มุมด้วยซอฟต์แวร์ และอีโคซิสเต็มบนระบบปฏิบัติการล่าสุด

การพัฒนาเทคโนโลยีเครือข่ายการสื่อสาร และเทคโนโลยีที่ผู้ใช้สามารถมีส่วนร่วมด้วยได้ เป็นแรงขับเคลื่อนให้เกิดวิวัฒนาการของผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง จากข้อมูลสถิติปัจจุบันพบว่า ผู้บริโภคในระดับบุคคลซื้อสินค้าในกลุ่มสมาร์ทดีไวซ์มากขึ้นและเพิ่มจำนวนชิ้นที่ถือครองมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคจำนวนมากยังคงรู้สึกว่าการเชื่อมต่อหรือประสานการทำงานระหว่างสมาร์ทดีไวซ์ต่างๆ เป็นเรื่องที่ยุ่งยาก

นายหวัง เฉิงลู่ ประธานฝ่ายวิศวกรรมซอฟต์แวร์ของหัวเว่ย คอนซูมเมอร์ บิสสิเนส กรุ๊ป กล่าวว่า ทิศทางการพัฒนาสมาร์ทดีไวซ์ในอนาคตนั้นเป็นไปเพื่อเชื่อมต่อหลายอุปกรณ์เข้าไว้ด้วยกัน เพิ่มความยืดหยุ่นให้แก่การใช้งานและขยายขีดความสามารถในการทำงานของแต่ละอุปกรณ์มากยิ่งขึ้น โดยมีสมาร์ทโฟนเป็นศูนย์กลาง ทำให้ระบบปฏิบัติการต่างๆ ต้องมีความสามารถในการเชื่อมต่อดังกล่าวด้วย การเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ต้องมีประสิทธิภาพและราบรื่นเสมือนการเชื่อมต่อการทำงานภายในอุปกรณ์เดียว และอีโคซิสเต็มจะต้องสามารถรองรับการทำงาน รวมถึงการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่างระบบได้

หัวเว่ยได้ปรับเปลี่ยนและพัฒนาระบบปฏิบัติการจากความสามารถในการทำงานทั่วไป ตามโครงสร้างพื้นฐานของระบบซอฟท์แวร์ สู่ระบบซอฟท์แวร์และฐานข้อมูลที่สามารถเชื่อมต่อและประสานการทำงานระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ ได้อย่างลื่นไหล เทียบเคียงได้กับการเชื่อมต่อและประสานการทำงานภายในอุปกรณ์เดียวกัน ให้ผู้ใช้สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์และข้อมูลได้อย่างไร้รอยต่อมากยิ่งขึ้น ด้วยเทคโนโลยีด้านการรักษาความปลอดภัย ที่จะช่วยเก็บรักษาข้อมูลความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ พร้อมมอบความปลอดภัยในการใช้งานในทุกสถานการณ์ และด้วยความสามารถในการเชื่อมต่อและแบ่งปันศักยภาพในการทำงานระหว่างอุปกรณ์นี้ จะช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้ในหลายๆ ด้าน ตัวอย่างเช่น การทำงานแบบหลายหน้าจอ (multi-screen collaboration) ระหว่างอุปกรณ์ บนระบบปฏิบัติการ EMUI 10.1 ผู้ใช้จะสามารถใช้กล้อง หรือ ไมโครโฟนเพื่อรับสายที่โทรเข้าสมาร์ทโฟนได้จากแล็ปท็อปได้ ฟังก์ชันควบคุมการเชื่อมต่อหลายอุปกรณ์ของสมาร์ทโฟน (Multi-device Control Center) จะสามารถช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการทำงานร่วมกับดีไวซ์อื่นๆ ได้อย่างชาญฉลาด สามารถทำงานร่วมกับอุปกรณ์ IoT หรือแสดงผลหลายหน้าจอของดีไวซ์ที่เชื่อมต่อกันได้

การเปิดกว้างของศักยภาพใหม่ๆ นี้ นำไปสู่โอกาสอีกมากมายในอุตสาหกรรมนี้ สำหรับผู้ผลิตและจัดจำหน่ายอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ การเพิ่มศักยภาพหรือขีดความสามารถดังกล่าว ช่วยทำให้ผู้ใช้มองเห็นประโยชน์และความสะดวกสบายในการใช้งานอุปกรณ์ ซึ่งส่งผลให้เกิดความต้องการใช้มากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันศักยภาพนี้ก็ช่วยย่นระยะเวลาการทำงานและลดความยุ่งยากของขั้นตอน จากเดิมที่ต้องพัฒนาแอปฯ เพื่อให้รองรับการใช้งานหลายอุปกรณ์ สามารถลดเหลือเพียงเวอร์ชันเดียวได้ เนื่องจากทุกอุปกรณ์สามารถเชื่อมต่อและทำงานร่วมกันได้ นำมาซึ่งประสบการณ์ชีวิตเอไอ ไร้รอยต่อ โดยมีความสามารถในประสานการทำงานระหว่างหลายอุปกรณ์เป็นตัวช่วย

Huawei Mobile Services เต็มรูปแบบ เพื่อสรรค์สร้างชีวิตเอไอ ไร้รอยต่อ

หัวเว่ยได้เปิดให้นักพัฒนาใช้ “Chipset-Device-Cloud” ซึ่งประกอบไปด้วยชุดเครื่องมือ HMS Core Kits มากมายไม่ว่าจะเป็น Account Kit, In-App Purchase Kit, Machine Learning Kit, HiAI Kit และ Camera Kit ซึ่งหัวเว่ยได้ร่วมงานกับนักพัฒนาและพาร์ทเนอร์ทั่วโลกเพื่อสร้างอีโคซิสเต็มให้กับ Huawei Mobile Services พร้อมยกระดับคอนเทนต์ และบริการให้ผู้ใช้หัวเว่ยทุกคน เพื่อมอบประสบการณ์ชีวิตเอไอ ไร้รอยต่อให้แก่ผู้บริโภคยุค 5G

นายเอริค ตัน รองประธานฝ่ายบริการคลาวด์ของหัวเว่ย คอนซูมเมอร์ บิสสิเนส กรุ๊ป กล่าวในที่ประชุมว่า หัวเว่ยนำเสนอแอปพลิเคชันชั้นนำเปี่ยมคุณภาพ พร้อมลดขั้นตอนและระยะเวลาในการค้นหาและเลือกสรรแอปฯ อีกทั้งยังยกระดับความปลอดภัย และดึงดูดความสนใจของผู้ใช้ด้วยการทยอยเพิ่มเติมแอปฯ ยอดนิยมของแต่ละท้องถิ่นเข้าสู่ระบบ นอกจากนี้ หัวเว่ยยังได้เปิดตัว Quick Apps และ Atomic Ability ทั่วโลก โดย Quick Apps คือฟีเจอร์ใหม่ที่อำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้สามารถใช้แอปพลิเคชันได้แบบไม่ต้องดาวน์โหลดติดตั้ง มอบประสบการณ์การใช้งานที่ลื่นไหลเพียงสัมผัสแบบ tap-to-play ขณะที่ Atomic Ability คือฟีเจอร์ที่สามารถแนะนำผู้ใช้อย่างชาญฉลาด เพื่อให้สามารถปรับการใช้งานได้อย่างเหมาะสม มอบประสบการณ์การใช้งานหลายดีไวซ์ที่ราบรื่นและยอดเยี่ยมในทุกสถานการณ์

หัวเว่ยสนับสนุนชุดเครื่องมือที่ช่วยในการพัฒนาระบบ (IDE: Integrated Development Environment) แบบองค์รวมให้แก่นักพัฒนา เพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาระบบที่สามารถเชื่อมต่อกับทุกอุปกรณ์ทั่วโลกได้ ผ่านอุปกรณ์เดียวหรือจุดเริ่มต้นเพียงจุดเดียว เดือนมีนาคมที่ผ่านมา หัวเว่ยมีนักพัฒนาที่ขึ้นทะเบียนกับบริษัทกว่า 1.4 ล้านรายทั่วโลก โดยนักพัฒนาเหล่านี้ได้ใช้ประโยชน์จาก HMS Core Kits ที่ทางบริษัทมอบให้ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลแผนที่ หรือบริการการวิเคราะห์ต่างๆ ปัจจุบัน HMS Core Services มีแอปพลิเคชันรวมมากกว่า 60,000 แอปฯ เพิ่มขึ้นคิดเป็น 66.7% จากช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อน โดยหัวเว่ยจะยังคงเดินหน้าทำงานร่วมกับนักพัฒนาและพาร์ทเนอร์ชั้นนำทั่วโลกเพื่อสร้างสรรรค์อีโคซิสเต็มที่เติมเต็มชีวิตเอไอ ไร้รอยต่อต่อไป พร้อมทั้งคาดว่าจะเปิดการใช้งานและเพิ่มเติมบริการอื่นๆ บน Chipset-Device-Cloud มากขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้

แสดงความคิดเห็น

Exit mobile version