Huawei ลงนามในข้อตกลงปารีส คอล เรียกร้องเรื่องความเชื่อมั่นและความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์

ในขณะที่โลกกำลังเรียกร้องหาเอกภาพ ความโปร่งใส และความปลอดภัยในโลกดิจิทัล บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ จำกัด ได้เข้าร่วมโครงการปารีส คอล (Paris Call) หรือข้อเรียกร้องซึ่งริเริ่มโดยรัฐบาลฝรั่งเศส ให้มีการพัฒนาหลักการร่วมด้านความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์และบริการดิจิทัล

ข้อเรียกร้องระดับสูงดังกล่าวประกาศขึ้นโดยรัฐบาลฝรั่งเศสเมื่อปี 2561 เพื่อผลักดันให้เกิดความร่วมมือในการแก้ปัญหาเรื่องอาชญากรรมไซเบอร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในเรื่องที่ท้าทายที่สุดของโลก ในฐานะสมาชิกของข้อเรียกร้อง หัวเว่ยได้ร่วมกับองค์กรอีก 564 แห่งเพื่อประกาศพันธกิจในการทำงานร่วมกันเพื่อทำให้ผลิตภัณฑ์ดิจิทัลต่าง ๆ มีความปลอดภัยมากขึ้น และให้คำมั่นที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานสากลเกี่ยวกับการทำงานอย่างมีความรับผิดชอบในโลกไซเบอร์

การตอบรับต่อข้อเรียกร้องนี้เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามอย่างต่อเนื่องของหัวเว่ยในการแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของบริษัทในการขยายและปรับปรุงระบบการทำงานตามมาตรฐานสากลอย่างเข้มแข็ง เพื่อให้แน่ใจว่าการดำเนินงานของบริษัทเป็นไปตามกฎหมายและข้อบังคับของแต่ละประเทศที่บริษัทดำเนินธุรกิจอยู่ ก่อนที่จะลงนามในข้อตกลงฉบับนี้ มร. เหริน เจิ้งเฟย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ก่อตั้งของหัวเว่ย ได้ประกาศเมื่อเดือนกรกฎาคม กับหนังสือพิมพ์ IL Sole 24 Ore ว่าบริษัทเต็มใจที่จะลงนามในข้อตกลง “ห้ามสอดแนม (No-backdoor)” กับทุกประเทศ

“เราเชื่อว่าเราสามารถเซ็นข้อตกลง “ห้ามสอดแนม (No-backdoor)” มร. เหริน กล่าวในการสัมภาษณ์

ในฐานะผู้ให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคมชั้นนำ ความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้เป็นรากฐานของการดำเนินธุรกิจของหัวเว่ยมาตั้งแต่เริ่มต้น บริษัทใช้งบประมาณมหาศาลไปกับการวิจัยเพื่อพัฒนาให้ผลิตภัณฑ์และโซลูชันที่ให้บริการมีความปลอดภัยมากที่สุด และในอีก 5 ปีข้างหน้า หัวเว่ยจะทุ่มงบอีก 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (6.1 หมื่นล้านบาท) เพื่อยกระดับความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์และบริการในทุกประเทศ

แสดงความคิดเห็น