Xiaomi ติดโผหนึ่งใน 50 บริษัทดาวรุ่งและบริษัทที่มาแรงแห่งอนาคตของ FUTURE 50 LIST เป็นครั้งแรก

เสียวหมี่คอร์ปอเรชั่น ได้ทำสถิติใหม่ติดโผบริษัทดาวรุ่งแห่งอนาคตโดยการติด ท็อป 50 ของปี 2019 ในการจัดอันดับ Future 50 List เป็นครั้งแรก และมาแรงเป็นอันดับที่ 7 แสดงให้เห็นถึงความสำเร็จอย่างต่อเนื่องของบริษัทพร้อมด้วยกลยุทธ์อันชาญฉลาด

การจัดอันดับนี้ถูกจัดทำขึ้นโดยบริษัทให้คำปรึกษาระดับโลกอย่าง Boston Consulting Group และ นิตยสาร Fortune ตั้งแต่ปี 2017 โดยการจัดอันดับ Future 50 หรือบริษัทดาวรุ่งแห่งอนาคต 50 บริษัท ที่มาแรงแห่งปีนั้น เป็นการจัดอันดับบริษัทชั้นแนวหน้าของโลกที่มีการคาดการณ์ว่าจะประสบความสำเร็จด้านการเติบโตในระยะยาวเป็นอย่างมาก

คุณเหลย จวิน ผู้ก่อตั้ง ประธานบริษัทและซีอีโอของเสียวหมี่กล่าวว่า “ หลายปีที่ผ่านมา เราได้ทำการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในด้านกลยุทธ์หลักของเรา ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างทางการบริหาร การทำการวิจัยด้านเทคโนโลยี การพัฒนาระบบ การออกผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย การพัฒนาแบรนด์และอื่นๆ อีกมากมาย การพัฒนาเหล่านี้ได้นำไปสู่การสร้างความเข้มแข็งให้กับเสียวหมี่เพิ่มความโดดเด่นยิ่งขึ้น ท่ามกลางการแข่งขันอันดุเดือดจากทั้งในและนอกประเทศ”

การได้รับการจัดอับดับอันทรงเกียรติให้เป็นหนึ่งในบริษัทดาวรุ่งแห่งปีจาก Future 50 นั้น ถือเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จอีกขั้น ที่ตามมาหลังจากการได้รับการจัดอันดับบริษัทที่ทำรายได้สูงที่สุดในโลก 500 บริษัท ประจำปี 2019 ของ “Fortune Global 500” เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาของปีเดียวกัน ซึ่งผู้นำเทคโนโลยีระดับโลกซึ่งมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงปักกิ่งติดอันดับที่ 468 ด้วยรายได้กว่า 2,049.10 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปีงบประมาณที่ผ่านมา และยังคว้าอันดับ 7 มาครองในหมวดบริษัทที่ให้บริการอินเทอร์เน็ตและการค้าปลีกอีกด้วย โดยเสียวหมี่ เป็นบริษัทที่มีอายุการก่อตั้งและระยะเวลาในการดำเนินกิจการน้อยที่สุดในบรรดาบริษัททั้งหมดที่อยู่ในการจัดอันดับ Global 500 ประจำปี 2019 อีกด้วย

บทพิสูจน์ให้เห็นถึงความสำเร็จในการเติบโตระยะยาว

เสียวหมี่ยังคงแสดงให้เห็นถึงคุณค่าของตราสินค้าที่แข็งแรงอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงศักยภาพในการเติบโตที่แข็งแกร่ง ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องยกความดีความชอบให้กับโครงสร้างทางธุรกิจที่แข็งแรงไม่เหมือนใคร อย่าง Triathlon ที่ผสานเอาเสาหลักถึงสามอย่างเข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น ฮาร์ดแวร์ ร้านค้าปลีกใหม่ๆ และการให้บริการทางอินเทอร์เน็ต

ในเดือนมกราคมที่ผ่านมา เสียวหมี่ได้ประกาศกลยุทธ์เพิ่มเติมนั่นคือ dual-engine strategy คือการผสานสองพลังของ สมาร์ทโฟนและ AIoT เข้าด้วยกัน ด้วยเงินลงทุนกว่าหนึ่งหมื่นล้านหยวนในอีกห้าปีข้างหน้า

ขณะนี้เสียวหมี่ได้ดำเนินธุรกิจมากกว่า 80 ตลาดทั่วโลก และตามรายงานจาก Canalys (บริษัทวิเคราะห์การตลาดของบริษัทเทคโนโลยีระดับโลก) ระบุว่าเสียวหมี่อยู่ลำดับที่ 4 ของโลกหากประเมินจากการขนส่งสมาร์ทโฟนในไตรมาสที่สองของปี 2019 และยังติดอันดับท็อป 5 ในมากกว่า 40 ตลาดอีกด้วย

ยิ่งไปกว่านั้น ขณะนี้เสียวหมี่คือบริษัทที่มีแพลตฟอร์มด้านสินค้า Internet of Things (IoT) หรือ อุปกรณ์อัจฉริยะที่สามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตที่ใหญ่ที่สุดในโลก และปัจจุบันได้มีการเชื่อมต่ออุปกรณ์อัจฉริยะมากกว่า 196 ล้านเครื่อง (ไม่รวมสมาร์ทโฟนและแล็ปท็อป) ตามข้อมูลของสถิติของสิ้นเดือนมิถุนายน แสดงให้เห็นว่าเมื่อเทียบปีต่อปีแล้ว อัตราการใช้อุปกรณ์อัจฉริยะมีการเพิ่มขึ้นถึง 69.5%

เสียวหมี่ จะยังคงเดินหน้าพัฒนาเทคโนโลยี AIoT ต่อไป โดยจะสร้างระบบนิเวศของ AIoT ที่ครอบคลุม สร้างและพัฒนาการวิจัยให้แข็งแกร่ง และพัฒนาการเชื่อมโยงธุรกิจในแต่ละภาคส่วนเพื่อยกระดับการเชื่อมต่อและประสบการณ์การใช้งานของผู้ใช้ให้ดีขึ้น

ภายในสิ้นเดือนมิถุนายน 2019 เสียวหมี่มีพนักงานประจำกว่า 16,911 อัตรา แบ่งออกเป็นพนักงานวิจัยกว่า 7,779 อัตรา และมีพนักงานในตำแหน่งนักพัฒนาในแผนกต่างๆ อีกมากมาย

เสียวหมี่ยังลงทุนกับบริษัท Supply Chain อีกกว่า 270 บริษัท เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันแข็งแกร่งกับบริษัทผู้ผลิตที่สำคัญ อันนำมาซึ่งการส่งเสริมกำลังการผลิตและแหล่งที่มาของเทคโนโลยีอันก้าวหน้า

ในการจัดอันดับ Future 50 โดยบริษัท Boston Consulting Group การประเมินการจัดอันดับได้ทำการตรวจสอบบริษัทที่เป็นมหาชนกว่า 1,000 บริษัท ที่มีมูลค่าในตลาดมากกว่า 2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ หรือกว่า 1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ หากนับจากรายได้ทั้ง 12 เดือนจนถึงสิ้นปี 2018 ดัชนีการชี้วัดนี้มาจากสองปัจจัยหลักนั่นก็คือ การประเมินศักยภาพการเติบโตของตลาดแบบบนลงล่างหรือ top-down และ การประเมินบริษัทแบบ bottom-up หรือจากล่างขึ้นบน

สมรรถนะอันเต็มเปี่ยมเพื่อสร้างการเติบโตนั้นมาจากปัจจัย 4 ด้านดังนี้ กลยุทธ์ เทคโนโลยีและการลงทุนคน และโครงสร้าง

แสดงความคิดเห็น